Translate

จำนวนและตัวเลข (Numbers and Numerals)







ประวัติของจำนวน 



          เนื่องจากเมื่อประมาณ  30,000  ปีก่อนคริสตศักราช  มีหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบในถ้ำต่าง ๆ  ที่มนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่  แล้วขีดเขียนภาพบผนังถ้ำเป็นการบ่งบอกจำนวนของสัตว์ที่มีอยู่จึงสันนิษฐานว่าการนับสิ่งของต่าง ๆ คงเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สมัยมนุษย์ถ้ำ  และคงเป็นวิธีการจับคู่สิ่งของแบบหนึ่งต่อหนึ่งด้วยความจำเป็นต้องใช้จำนวนในการบอกปริมาณว่ามีมากหรือน้อย  เช่น  คนสองคนกับวัวฝูงหนึ่ง  จับคู่กันแล้วจะมีวัวเหลืออยู่ 3  ตัว  ก็เป็นการแสดงว่าคนกับวัวมีจำนวนไม่เท่ากัน 

 

          มนุษย์ทุกชาติภาษาต่างมีความเข้าใจตรงกันในเรื่องของจำนวน  แต่สัญญาลักษณ์ที่เขียนแทนจำนวนหรือสิ่งของที่รู้จักกันในนามของตัวเลข  นั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน
          
          ตัวเลขสมัยโบราณที่ใช้แพร่หลายตามความเจริญของอารยธรรมชนเผา  ได้แก่  ตัวเลขอียิปต์  บาบิโลน  ตัวเลขโรมัน  และตัวเลขฮินดูอารบิก  ตัวเลขในปัจจุบันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นสากล  คือ  ตัวเลขฮินดูอารบิก  ซึ่งเป็นตัวเลขที่ชาวฮินดูเป็นผู้คิดประดิษฐ์ขึ้น  ชาวอาหรับนำไปเผยแพร่จึงได้ชื่อตามผู้คิดและผู้ที่เผยแพร่จนได้ใช้กันเป็นสากลทั่วโลก


          ตัวเลขไทยนั้น  มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกที่  ประดิษฐ์โดย  พ่อขุนรามคำแหงมหาราช 


ตัวเลขของชาติต่างๆ


ตัวอย่างตัวเลขชนิดต่าง



ตัวเลขอียิปต์

        ในสมัยโบราณ อียิปต์เป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปะวิทยาการก่อนชาติอื่นๆ ชาวอียิปต์รู้จักบันทึกจำนวนโดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้


         การเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวนของชาวอียิปต์ ใช้วิธีรวมค่าของสัญลักษณ์เหล่านั้น ไม่คำนึงถึงตำแหน่งของสัญลักษณ์ ดังนั้น จำนวนเดียวกัน อาจจะเขียนสัญลักษณ์สลับที่เป็นแบบต่างๆ ได้  ซึ่งจะเขียนตัวเลขเรียงกันแล้วแล้วนำค่ามาบวกกัน
                                                         
                      
ตัวเลขโรมัน

          เมื่อประมาณ  300 – 100  ปีก่อนคริสตศักราช  ชาวโรมันนำตัวหนังสือกรีกมาดัดแปลงเป็นตัวเลขโรมัน โดยมีสัญลักษณ์  ตัว ดังนี้

ตัวเลขโรมัน
I
V
X
L
C
D
M
แทนจำนวน
1
5
10
50
100
500
1,000

เมื่อต้องการเขียนตัวเลขจำนวนตัวเลขอื่น ๆ ก็ใช้หลักการ  ประการคือ

    1. หลักการเพิ่ม คือ เขียนตัวเลขเรียงกันตามลำดับจากค่ามากไปหาค่าน้อย แล้วนำค่าตัวเลขแต่ละตัวมาบวกกัน เช่น                                                              
                              VII           แทน     5 + 2  =  7                  
                             XVI         แทน    10 + 5 + 1  =  16                              CLXVIII     แทน    100+ 50 + 10 + 5 + 3  =  168
        
การเขียนตัวเลขโดยใช้หลักการลด มีเงื่อนไข ดังนี้ 

                   2.1   ตัวเลขที่ใช้เป็นตัวลบ ได้แก่  I , X และ C เท่านั้น
                   2.2   จะพบว่าตัวเลขที่อยู่ด้านหน้าของ X หรือ V มีเพียง ตัวเดียว
                           เช่น     IV     แทน     4 
                                     IX     แทน     9 
                   2.3   ตัวเลขที่อยู่ข้างหน้าของ L หรือ C ได้แก่ X เพียงตัวเดียว 
                           เช่น     XL   แทน     40 
                                     XC   แทน     90 
                   2.4   ตัวเลขที่อยู่ข้างหน้าของ D หรือ M ได้แก่ C เพียงตัวเดียว 
                           เช่น     CD     แทน    400 
                                     CM    แทน    900
                   จำนวน 944  เขียนเป็น 900 + 40 + 4  ซึ่งเท่ากับ CM + XL + IV  ซึ่งแทนด้วย CMXLIV


2. หลักการลด คือ เขียนตัวเลขที่มีค่าน้อยกว่าไว้ข้างหน้าตัวเลขที่มีค่ามากกว่าแล้วนำค่าตัวเลขทั้งสองมาลบกัน ซึ่งใช้กับจำนวนที่มีตัวเลข 4 และ 9 เท่านั้น 

                          เช่น  IV , IX ,  XC  มีค่าเท่ากับ  4 , 9 , 90
                   จำนวน 499  เขียนเป็น 400 + 90 + 9  ซึ่งเท่ากับ CD + XC + IX  ซึ่งแทนด้วย CDXCIX
ในระบบตัวเลขโรมันยังมีสัญลักษณ์แทนจำนวนที่มีค่ามากๆโดยใช้เครื่องหมาย ( - )  บนสัญลักษณ์พื้นฐานเพียงหกตัวดังนี้




ตัวเลขมายัน

           ในสมัยก่อนที่โคลัมบัสพบซีกาโลกตะวันตกนั้น ชนเผ่ามายันได้อาศัยอยู่ในอเมริกากลาง และเม็กซิโก เป็นชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแล้ว ชาวมายันใช้ตัวเลขที่มีค่าประจำตำแหน่ง และเป็นชาติแรกที่มีสัญลักษณ์แทนจำนวนศูนย์ สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวนของชาวมายัน มีดังนี้


           การเขียนตัวเลขแทนจำนวนใหญ่ๆ ของชาวมายันใช้วิธีการเดียวกันกับของจีน คือเขียนในแนวตั้ง เรียงจากมากลงมาหาน้อย  เขียนตัวเลขหลักหน่วยไว้ตำแหน่งล่างสุด  เขียนตัวเลขหลักที่สองเหนือหลักหน่วย หลักที่สองมีค่าประจำตำแหน่งเป็น 20 เท่าของจำนวนในหลักนี้  เขียนตัวเลขหลักที่สามเหนือหลักที่สอง หลักที่สามมีค่าประจำตำแหน่งเป็น 18 X 20 เท่าของจำนวนในหลักนี้

ตัวเลขบาบิโลน

           ชาวบาบิโลน  เป็นชาติที่มีความเจริญทางลุ่มน้ำไทกริสเฟรติส  ดินแดนตะวันออกกลางในปัจจุบันนี้ราว  3,000 – 2,000  ปี  ก่อนคริสตศักราช  ชาวบาบิโลนจารึกตัวเลขลิ่มที่ใช้แทนจำนวนต่าง ๆ


ชาวบาบิโลนเป็นผู้เริ่มต้นแนวคิดเกี่ยวกับค่าประจำหลัก คือ ใช้สัญลักษณ์ตัวเดียวกันแทนจำนวนที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวเลขนั้นๆ 


ตัวเลขจีน

           เลขจีน คืออักษรจีนที่ใช้สำหรับเขียนแทนจำนวนในภาษาจีน ในทุกวันนี้ผู้พูดภาษาจีนใช้ระบบเลขสามแบบ คือ เลขอารบิกสมัยใหม่ และเลขจีนโบราณอีกสองระบบ การเขียนและการอ่านเลขจีนเขียนคล้ายจำนวนในภาษาไทย คือมีเลขโดดและค่าประจำหลัก แต่ก็มีหลักเกณฑ์บางอย่างที่ต่างออกไป  ซึ่งชาวจีนมีสัญลักษณ์สิบสองตัวที่ใช้เขียนแทนจำนวน



ชาวจีนใช้วิธีคูณตามค่าประจำตำแหน่งของแต่ละหลัก แล้วรวมผลคูณนั้นๆเข้าด้วยกัน การเขียนเป็นดังนี้



ตัวเลขไทย

ตัวเลขไทย เป็นอักษรตัวเลขที่ใช้แสดงจำนวนนับในภาษาไทย ประดิษฐ์ขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอม และมีต้นตอมาจากอักษรเทวนาครีของอินเดีย เช่นเดียวกับเลข    อารบิก เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่ใช้ระบบจำนวนนับเป็นเลขฐานสิบ และมีการเปลี่ยนแปลงสัณฐาน จากอดีตสู่ปัจจุบันน้อยมาก



ตัวเลขอารบิก 

เป็นสัญลักษณ์ตัวเลขที่นิยมใช้กันมากที่สุดในโลก และนับว่าเป็นส่วนสำคัญในประวัติศาสตร์การพัฒนาคณิตศาสตร์  ตัวเลขอารบิกประกอบไปด้วย 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9


ระบบตัวเลขฐานต่าง ๆ


ระบบตัวเลขฐานสิบ   

          ระบบตัวเลขฮินดูอารบิกเป็นระบบฐาน  10  ชนชาติฮินดูเป็นผู้คิดระบบตัวเลขนี้และชนชาติอาหรับนำตัวเลขนี้ไปเผยแพร่  จากการเดินทางไปค้าขายระหว่างอินเดียและยุโรปมีหลักฐานจากเสาหินในประเทศอินเดีย  ซึ่งเชื่อว่าสร้างสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช  ประมาณ  พ.ศ. 300  สมัยแรก  ยังไม่มีเลขศูนย์  หลักฐานการใช้เลขศูนย์ปรากฏในหนังสือเขียนราว  พ.ศ. 1350
          สัญญาลักษณ์หรือเลขโดดที่ใช้ในระบบตัวเลขฐานสิบมีอยู่สิบตัว  คือ 0, 1, 2, ... , 9 ตัวเลขเหล่านี้เมื่อใช้เขียนแทนจำนวนใดก็จะขึ้นอยู่กับหลักที่ปรากฏอยู่และค่าประจำหลักนั้น 

ระบบตัวเลขฐานห้า

ระบบตัวเลขฐานห้าจะประกอบด้วยเลขโดดพื้นฐานจำนวน 5 ตัว คือ 0, 1, 2, 3 และ 4 ระบบเลขนี้นิยมแพร่หลายในพวกเอสกิโม (Eskimos) และอินเดียในอเมริกาเหนือ

ระบบตัวเลขฐานสอง

ระบบเลขฐานสองได้ถูกคิดค้นขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ “GOTTFRIED WILHELM”  ซึ่งใช้สัญลักษณ์เป็น 0 และ 1 เท่านั้น ทำให้ระบบเลขฐานสองนี้เหมาะสมในการนำมาประยุกต์แทนการอธิบายการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดย ON จะแทน 1 และ OFF จะแทน 0
 
ระบบตัวเลขฐานสิบสอง

ระบบตัวเลขฐานสิบสองจะประกอบด้วยเลขโดดพื้นฐานจำนวน 12 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, a และ b ซึ่งระบบเลขฐานสิบสองนี้จะเห็นได้จากนาฬิกา นิ้วและฟุต

ตารางแสดงหลัก และค่าประจำหลักในระบบตัวเลขฐานต่างๆ


นอกจากนี้การเขียนจำนวนในระบบตัวเลขฐานต่าง  ๆ  ให้อยู่ในระบบตัวเลขฐาน ยังสามารถใช้หลักการกระจายได้อีกด้วย


ตัวอย่าง จงเขียน 1345 , 11012 และ 2BA12 ให้อยู่ในระบบตัวเลขฐานสิบ


การเปลี่ยนฐานในระบบตัวเลข


          การเปลี่ยนฐานที่กำหนดให้เป็นฐานอื่น ๆ และฐานทั้งคู่ไม่ใช้ฐานสิบทำได้โดยเปลี่ยนตัวเลขที่กำหนดให้เป็นตัวเลขในระบบฐานสิบก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนไปยังฐานที่ต้องการ

ตัวอย่าง จงเขียน 49 , 512 และ 3275 ให้อยู่ในระบบตัวเลขฐานสอง , ห้า และสิบสองตามลำดับ

วิธีทำ เขียน 49 ให้อยู่ในระบบตัวเลขฐานสอง



               
      เขียน  512  ให้อยู่ในระบบตัวเลขฐานห้า




          เขียน 3275 ให้อยู่ในระบบตัวเลขฐานสิบสอง




             การเปลี่ยนฐานที่กำหนดให้เป็นฐานอื่น และฐานทั้งคู่ไม่ใช่ฐานสิบ ทำได้โดยเปลี่ยนตัวเลขที่กำหนดให้เป็นตัวเลขในระบบตัวเลขฐานสิบก่อน 

ตัวอย่าง  จงเขียน 3245  ให้อยู่ในระบบตัวเลขฐานสอง
วิธีทำ  

                เปลี่ยน 89 ให้เป็นตัวเลขในระบบตัวเลขฐานสอง


ตัวอย่าง  จงเขียน 1301205   ให้อยู่ในระบบตัวเลขฐานสิบสองวิธีทำ 
     

               เปลี่ยน 5035 ให้เป็นตัวเลขในระบบตัวเลขฐานสิบสอง  
    

         



อ้างอิง


ตัวเลขสมัยต่างๆ.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.kanchanapisek.or.th/kp6/                 
            BOOK6/chapter2/t6-2-m.htmสืบค้นวันที่  พฤศจิกายน 57.

พรรคพงศ์สนิท สนิทวงศ์.  (2529).  สารานุกรมสำหรับเยาวชน.  กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์.

สุชิน  ทำมาหากิน.  รวมสูตรคณิตศาสตร์  ม.1 – 2 – 3.  กรุงเทพฯ : เรืองแสงการพิมพ์.  หน้า  10-17.

โครงงานคณิตศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.wisut.org/new/cot/new/math.html.
สืบค้นวันที่  พฤศจิกายน 57

ผู้จัดทำ


ประวัติผู้จัดทำ


ชื่อ  นางสาวอภิรดี  อุดร
เกิด   วันที่  21  พฤศจิกายน  พ.ศ.2536
ที่อยู่ปัจจุบัน    บ้านเลขที่  425  หมู่ที่  ตำบลนอกเมือง  อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์  
ประวัติการศึกษา   ปี  พ.ศ. 2554  จบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  จากโรงเรียนขุขันธ์   ต.ห้วยเหนือ    
                            อ.ขุขันธ์  จ.ศรีสะเกษ
                            ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์  สาขาคณิตศาสตร์ ชั้นปี 3