ตัวอย่างตัวเลขชนิดต่าง
ตัวเลขอียิปต์
ในสมัยโบราณ อียิปต์เป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปะวิทยาการก่อนชาติอื่นๆ
ชาวอียิปต์รู้จักบันทึกจำนวนโดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
การเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวนของชาวอียิปต์ ใช้วิธีรวมค่าของสัญลักษณ์เหล่านั้น
ไม่คำนึงถึงตำแหน่งของสัญลักษณ์ ดังนั้น จำนวนเดียวกัน
อาจจะเขียนสัญลักษณ์สลับที่เป็นแบบต่างๆ ได้
ซึ่งจะเขียนตัวเลขเรียงกันแล้วแล้วนำค่ามาบวกกัน
ตัวเลขโรมัน
เมื่อประมาณ 300 – 100 ปีก่อนคริสตศักราช ชาวโรมันนำตัวหนังสือกรีกมาดัดแปลงเป็นตัวเลขโรมัน
โดยมีสัญลักษณ์ 7 ตัว ดังนี้
ตัวเลขโรมัน
|
I
|
V
|
X
|
L
|
C
|
D
|
M
|
แทนจำนวน
|
1
|
5
|
10
|
50
|
100
|
500
|
1,000
|
เมื่อต้องการเขียนตัวเลขจำนวนตัวเลขอื่น ๆ ก็ใช้หลักการ 2 ประการคือ
1. หลักการเพิ่ม คือ เขียนตัวเลขเรียงกันตามลำดับจากค่ามากไปหาค่าน้อย
แล้วนำค่าตัวเลขแต่ละตัวมาบวกกัน เช่น
VII แทน 5 + 2 =
7
XVI แทน 10
+ 5 + 1 = 16
CLXVIII แทน 100+ 50 +
10 + 5 + 3 = 168
การเขียนตัวเลขโดยใช้หลักการลด มีเงื่อนไข ดังนี้
2.1 ตัวเลขที่ใช้เป็นตัวลบ
ได้แก่ I , X และ C เท่านั้น
2.2 จะพบว่าตัวเลขที่อยู่ด้านหน้าของ X หรือ V มีเพียง I ตัวเดียว
เช่น IV แทน 4
IX แทน 9
2.3 ตัวเลขที่อยู่ข้างหน้าของ L
หรือ C ได้แก่ X เพียงตัวเดียว
เช่น XL แทน 40
XC แทน 90
2.4 ตัวเลขที่อยู่ข้างหน้าของ
D หรือ M ได้แก่ C เพียงตัวเดียว
เช่น CD
แทน 400
CM แทน 900
จำนวน 944 เขียนเป็น 900 + 40 + 4
ซึ่งเท่ากับ CM + XL + IV ซึ่งแทนด้วย
CMXLIV
2. หลักการลด คือ
เขียนตัวเลขที่มีค่าน้อยกว่าไว้ข้างหน้าตัวเลขที่มีค่ามากกว่าแล้วนำค่าตัวเลขทั้งสองมาลบกัน
ซึ่งใช้กับจำนวนที่มีตัวเลข 4 และ 9 เท่านั้น
เช่น IV , IX , XC มีค่าเท่ากับ 4 , 9 , 90
จำนวน 499 เขียนเป็น 400 + 90 +
9 ซึ่งเท่ากับ CD + XC + IX ซึ่งแทนด้วย
CDXCIX
ในระบบตัวเลขโรมันยังมีสัญลักษณ์แทนจำนวนที่มีค่ามากๆโดยใช้เครื่องหมาย ( - ) บนสัญลักษณ์พื้นฐานเพียงหกตัวดังนี้
ตัวเลขมายัน
ในสมัยก่อนที่โคลัมบัสพบซีกาโลกตะวันตกนั้น
ชนเผ่ามายันได้อาศัยอยู่ในอเมริกากลาง และเม็กซิโก
เป็นชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแล้ว ชาวมายันใช้ตัวเลขที่มีค่าประจำตำแหน่ง
และเป็นชาติแรกที่มีสัญลักษณ์แทนจำนวนศูนย์ สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวนของชาวมายัน
มีดังนี้
การเขียนตัวเลขแทนจำนวนใหญ่ๆ ของชาวมายันใช้วิธีการเดียวกันกับของจีน
คือเขียนในแนวตั้ง เรียงจากมากลงมาหาน้อย เขียนตัวเลขหลักหน่วยไว้ตำแหน่งล่างสุด เขียนตัวเลขหลักที่สองเหนือหลักหน่วย
หลักที่สองมีค่าประจำตำแหน่งเป็น 20 เท่าของจำนวนในหลักนี้ เขียนตัวเลขหลักที่สามเหนือหลักที่สอง
หลักที่สามมีค่าประจำตำแหน่งเป็น 18 X 20 เท่าของจำนวนในหลักนี้
ตัวเลขบาบิโลน
ชาวบาบิโลน เป็นชาติที่มีความเจริญทางลุ่มน้ำไทกริสเฟรติส ดินแดนตะวันออกกลางในปัจจุบันนี้ราว 3,000 – 2,000 ปี ก่อนคริสตศักราช ชาวบาบิโลนจารึกตัวเลขลิ่มที่ใช้แทนจำนวนต่าง ๆ
ชาวบาบิโลนเป็นผู้เริ่มต้นแนวคิดเกี่ยวกับค่าประจำหลัก คือ
ใช้สัญลักษณ์ตัวเดียวกันแทนจำนวนที่ต่างกัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวเลขนั้นๆ
ตัวเลขจีน
เลขจีน คืออักษรจีนที่ใช้สำหรับเขียนแทนจำนวนในภาษาจีน
ในทุกวันนี้ผู้พูดภาษาจีนใช้ระบบเลขสามแบบ คือ เลขอารบิกสมัยใหม่
และเลขจีนโบราณอีกสองระบบ การเขียนและการอ่านเลขจีนเขียนคล้ายจำนวนในภาษาไทย
คือมีเลขโดดและค่าประจำหลัก แต่ก็มีหลักเกณฑ์บางอย่างที่ต่างออกไป ซึ่งชาวจีนมีสัญลักษณ์สิบสองตัวที่ใช้เขียนแทนจำนวน
ชาวจีนใช้วิธีคูณตามค่าประจำตำแหน่งของแต่ละหลัก
แล้วรวมผลคูณนั้นๆเข้าด้วยกัน การเขียนเป็นดังนี้
ตัวเลขไทย
ตัวเลขไทย เป็นอักษรตัวเลขที่ใช้แสดงจำนวนนับในภาษาไทย
ประดิษฐ์ขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอม
และมีต้นตอมาจากอักษรเทวนาครีของอินเดีย เช่นเดียวกับเลข อารบิก
เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่ใช้ระบบจำนวนนับเป็นเลขฐานสิบ และมีการเปลี่ยนแปลงสัณฐาน
จากอดีตสู่ปัจจุบันน้อยมาก
ตัวเลขอารบิก
เป็นสัญลักษณ์ตัวเลขที่นิยมใช้กันมากที่สุดในโลก และนับว่าเป็นส่วนสำคัญในประวัติศาสตร์การพัฒนาคณิตศาสตร์ ตัวเลขอารบิกประกอบไปด้วย 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9